นกกุลา (นกช้อนหอยขาว)/Black-headed Ibis (Threskiornis melanocephalus)

สิ่งที่น่าสนใจ :

ตัวผู้และตัวเมียมีลักษณะคล้ายกัน ปากยาวโค้งเล็กกลมสีดำ หัวและคอเป็นหนังเกลี้ยงสีดำ แต่เมื่อยังอ่อนอยู่ขนที่คอสีขาว ที่หัวมีขนบาง ๆ สีน้ำตาลแก่ เมื่อ โตขึ้น ขนจะค่อย ๆ บางลงจนเหลือแต่หนังสีน้ำเงินแก่หรือดำ นกกุลาขาวเป็นนกที่มีหางสั้นมาก ขาดำ ตาสีน้ำเงินดำ ขนทั่วตัวสีขาว

ถิ่นอาศัย :

พบในประเทศอินเดีย อินโดนีเซีย และสหพันธรัฐรัสเซีย (รัสเซียเอเชียตะวันออก) บริเวณบึงน้ำจืด ทะเลสาบ แม่น้ำ ทุ่งหญ้าที่มีน้ำท่วม ทุ่งนา ลำธาร ป่าชายเลน บึงน้ำเค็ม และทะเลสาบชายฝั่ง

อาหาร :

นกกุลากินหอย ปู ปลา กุ้ง และแมลงบางชนิด

พฤติกรรม :

มักอยู่เป็นฝูง ปกติเป็นนกเงียบไม่ส่งเสียง หากินตามหนองบึง หรือชายทะเลที่มีโคลน หากินปะปนกับนกอื่น เช่น นกยาง นกปากห่าง นกกระสา

สถานภาพปัจจุบัน :

1. เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2562 2. เป็นนกที่อยู่ในสถานภาพ ใกล้ถูกคุกคาม (Near Threatened: NT) จากการประเมินสถานภาพความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต โดยองค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (International Union for Conservation of Nature: IUCN) หรือ IUCN Red List (2016)

อนุกรมวิธาน

CLASS : Aves

ORDER : Pelecaniformes

FAMILY : Threskiornithidae

GENUS : Threskiornis

SPECIES : Black-headed Ibis (Threskiornis melanocephalus)

วัยเจริญพันธุ์ :

นกกุลาผสมพันธุ์ฤดูฝน ประมาณเดือนสิงหาคม กันยายน มักทำรังรวมกันหลายรังบนต้นไม้เดียวกัน รังสร้างด้วยกิ่งไม้เล็ก ๆ ขัดสานกัน บนต้นไม้ที่ไม่ห่างจากบึงหนองมากนัก วางไข่ ครั้งละ 2 – 4 ฟอง เป็นนกที่มีน้อยและหายาก

ขนาดและน้ำหนัก :

เป็นนกขนาดกลาง

ข้อมูลอ้างอิง :

รายละเอียดเพิ่มเติม

สถานที่ชม :


แก้ไขข้อมูล ณ วันที่ 25 กรกฏาคม 2567

a